การทดสอบ | การเตรียมผู้ป่วย |
---|---|
Glucose,Lipidprofile,Transferrin,VitaminB12,Insulin,Triglyceride,Folate,Beta-Crosslaps | งดอาหารและเครื่องดื่ม(สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) ก่อนการเจาะเลือด 8 |
APTTratio,PTH,Prolactin,BoneMarker,Calcium, Phosphorus | เจาะเลือดในช่วงเวลาเดิมที่เคยส่งตรวจครั้งก่อน |
Triglyceride,Lactate,LDL-Cholesterol | งดAlcoholก่อนการเจาะเลือด72ชั่วโมง |
Plateletaggregation | 1.งดยาต้านเกล็ดเลือด 2.งดอาหารก่อนเจาะเลือดเป็นเวลา6ชั่วโมง |
AntithrombinIII,Lupusanticoagulant, ProteinC,ProteinS | งดAnticoagulantdrug |
การทดสอบวินิจฉัยโรคThalassemia | หากมีประวัติรับเลือดควรเจาะเลือดหลังจากได้รับเลือดยูนิตสุดท้ายอย่างน้อย120วัน |
UrineVMA | 1.งดรับประทานกาแฟชากล้วยช็อกโกแลตวนิลาก่อนการเก็บปัสสาวะ3-4วัน 2.งดยาAspirin,Blood-pressurereducingdrugsก่อนการเก็บปัสสาวะ3-4วน |
หมายเหตุ:ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามรายละเอียดของการเตรียมตัวผู้ป่วยสำหรับการทดสอบที่ไม่ได้ระบุไว้ ข้างต้นได้ที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท
ชนิดของอุปกรณ์ | ปริมาตรสิ่งส่งตรวจ | สำหรับรายการตรวจ /การใช้ | |
---|---|---|---|
1 | ClottedBloodTube จุกสีขาวฉลากสีขาว(ไม่มีสารกันเลือดแข็ง) | ใสเลือด3-5ml. | ทุกรายการที่ระบุประเภทสิ่งส่งตรวจเป็นClottedBlood, Serum |
2 | EDTATubeจุกสีม่วงฉลากสีขาว | ใสเลือด2ml.Mixหลอดกลับไปกลับมา10 ครั้งจนสารกันเลือดแข็งละลายหมด | CBC,HbA1C,HbTyping,ESR,G6PD,OF,DCIP,CD4,CD8,และรายการที่ระบุสิ่งสงตรวจเป็น |
3 | NaFTubeจุกสีเทาปิดฉลากสีขาวแถบสีขาว | ใสเลือด2ml.Mixหลอดกลับไปกลับมา10 ครั้งจนสารกันเลือดแข็งละลายหมด | Glucose,BloodAlcoholและรายการที่ระบุประเภทสงสิ่งตรวจเป็นNaFBlood |
4 | SodiumCitrateTubeจุกสีฟ้ามีสารกันเลือดแข็งชนิด3.2%SodiumCitrate | ใส่เลือด2.5ml.Mixหลอดกลับไปกลับมา10ครั้งจนสารกันเลือดแข็งละลายหมด | PT,PTT,TT,INR(Coagulation),D-Dimer |
5 | กระป๋องปัสสาวะ | ปัสสาวะปริมาตรตามที่ระบุในรายการตรวจ | UrineExamination,DrugAddict |
6 | ตลับ/กระปุกทบ | เสมหะ อุจจาระ(ปริมาตรตามทระบุในรายการ | -Gram’sStain,AFBStain,อื่นๆ -StoolExamination |
7 | TransportMedium-Stuart’sMedium -CaryBlairmedium |
-Pus,Exudate,Throatswab,Vaginalswab,Urethalswab | -Aerobicculture -RectalSwabculture,Stoolculture |
8 | ขวดHemoCulture(ผู้ใหญ่,เด็ก) | ใส่เลือดตามปริมาตรข้างขวดMix เลือดเขากับน้ำยาให้เป็นเนื้อเดียวกัน | Hemoc/s |
9 | ขวดHemoCulture(Fluorescent) (ผู้ใหญ่,เด็ก) | ใสเลือดตามปริมาตรข้างขวดMix เลือดเขากับน้ำยาให้เป็นเนื้อเดียวกัน | -Hemo(เด็ก)c/s -Hemo(ผู้ใหญ่) c/s |
10 | ขวดSterile | -ปัสสาวะ5ml. -Fluid 5ml. -CSF 5ml. |
-Urinec/s -Fluidc/s,Cytology -CSFc/s,Protein(CSF),Glucose(CSF) |
11 | Stickerป้ายชื่อ | - | เขียนชื่อ-สกุลคนไข้,รพ.,รายการตรวจ,วันที่เก็บสิ่งสงตรวจ |
12 | ใบRequest | - | กรอกรายละเอียดตามคำแนะนาการกรอกใบRequest |
13 | กล่องEMS (สาหรับลูกค้าต่างจังหวัด) | -ขนาด250กรัม | บรรจุสิ่งส่งตรวจ,ใบRequest และอุปกรณ์เก็บความเย็น |
14 | ICEPACK/GELPACK | - | ใช้ควบคุมอุณหภูมิ15-25°Cขณะนำสง |
15 | อื่นๆ | - | รายการตรวจพิเศษที่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ |
1.1 ปิด Sticker เป็นแนวตรง ไม่ม้วนเกลียว / พันรอบหลอดเก็บเลือด (หากเป็นขวด HemoCulture (Fluorescent) ห้ามปิดทับบาร์โค้ด)
1.2 เมื่อปิด Sticker แล้วยังคงมองเห็นแนวแถบสีที่บอกชนิดของหลอดเลือด และเว้นชองวางให้เห็นขีดบอกระดับเลือดที่ตองเจาะ และระดับเลือดที่ใส่ลงมาในหลอด
1.3 หาก Sticker ยาวเกินหลอดเลือด ให้ตัดส่วนที่เกินออกได้ โดยให้เหลอสวนที่เป็น ชื่อ – นามสกุลหรือจะพบ Sticker ส่วนที่เกินเข้าหากันได้
2.1 นักเทคนิคการแพทย์ใส่เสื้อคลุม และ สวมถุงมือ
2.2 แนะนำตัว ตรวจสอบข้อมูลคนไข้ให้ถูกตองตรงกับใบส่งตรวจก่อนทำการเจาะเลือด
2.3เลือกชนิดของหลอดใส่ตัวอย่างเลือดที่เหมาะสมต่อประเภทการตรวจ เขียน ชื่อ-สกุล และรายการตรวจของคนไข้ ที่ข้างหลอดให้เรียบร้อย
2.4 เตรียมอุปกรณ์เจาะเลือด ได้แก่ หลอดใส่ตัวอย่างเลือดที่เขียน ชื่อ-สกุล และรายการตรวจแล้ว เข็มเจาะเลือด Syringe สาลีชุบแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื่อ สำลีแห้ง พลาสเตอร์ เป็นต้น จุดเรียงหลอดเก็บตัวอย่างตามลำดับที่เหมาะสม
2.5ใช้สายรัด (Tourniquet) รัดบริเวณต้นแขนเพื่อให้เห็นเส้นเลือดดำชัดเจนขึ้น เลือกบริเวณเจาะใต้ข้อพับเล็กน้อย ยกเว้นบางกรณีอาจต้องเจาะจากบริเวณข้อมือ หรือข้อเท้า
2.6 ทำการเจาะเลือดโดย
2.6.1 รัดสายรัดไม่เกิน 1 นาที
2.6.2 ให้คนไข้กำมือโดยไม่ต้องเกรงกล้ามเนื้อ
2.6.3 ตรวจสอบตำแหน่งที่จะเจาะอีกครั้ง โดยใช้นิ้วสัมผัสเส้นเลือดเพื่อติดตามเส้นทางเดินของเส้นเลือด
2.6.4 ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะเลือดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ โดย เช็ดจากจุดศูนย์กลางหมุนวนเป็นวงกลมออกสู่ด้านนอก รอจนแอลกอฮอล์แห้ง ห้ามนิ้วสัมผัสเส้นเลือดอีก
2.6.5 ทำการเจาะเลือด โดยใช้นิ้วหัวแม่มือดึงผิวหนังใต้ตำแหน่งที่จะเจาะ (1-2นิ้ว) ให้ตึง / หงายปลายตัดของเข็มขึ้นแทงลงในตำแหน่งที่กำหนด โดยให้เข็มทำมุมประมาณ 15 องศากับแขนคนไข้คอยๆดึงก้าน Syringe เพื่อเก็บเลือด ให้คนไข้คลายมือและดึงสายรัดออก
2.6.6 ใช้สำลีแห้งปราศจากเชื้อกดบริเวณรอยเจาะเบาๆพร้อมถอดเข็มออก/ให้คนไข้กดห้ามเลือดประมาณ 2-3นาที และปิดพลาสเตอร์ เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว
2.6.7 ทิ้งหัวเข็มลงในภาชนะสำหรับทิ้งของมีคม
2.6.8 ใส่เลือดลงในหลอดเลือด ปริมาณความเหมาะสมสำหรับการตรวจวิเคราะห์ ทิ้ง Syringeในถังขยะติดเชื้อ จากนั้นปิดฝาและผสมหลอดเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งทันที โดยพลิกหลอดเลือดกลับไปมา
2.7 กรณีที่เป็น Tube Clotted blood เมื่อเจาะเลือดเสร็จแล้วให้ปิดฝา และวางหลอดเลือดทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที ให้เกิดการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการเกิด Fibrin (ไม่ควรวางเกิน2ชั่วโมง)
2.8 กล่าวขอบคุณผู้ป่วยในความร่วมมือ เก็บอุปกรณ์ และนำตัวอย่างตรวจส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็วเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ต่อไป
2.9กรณีเจาะเก็บเลือดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณผิวหนัง (ปลายนิ้ว) ปฏิบัติดังนี้
2.9.1ตรวจสอบชื่อ-สกุล ผู้ป่วยให้ตรงกับใบส่งตรวจ และเอกสารประกอบอื่นๆ
2.9.2 เตรียมอุปกรณ์เจาะเลือด เพื่อเก็บเลือดตามรายการตรวจ
2.9.3เลือกตำแหน่งที่จะเจาะเลือด (ควรเลือกนิ้วกลาง หรือ นิ้วนาง) นวดเบาๆเพื่อเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิต
2.9.4 เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วยสำลีปราศจากเชื้อ ชุบแอลกอฮอล์แล้วรอให้แห้ง
2.9.5นำlancet ออกจากห่อบรรจุโดยไม่สัมผัสบริเวณปลาย lancet
2.9.6จับนิ้วมือคนไข้ให้กระชับและนิ่ง จากนั้นแทง lancet ในลักษณะขวางลายนิ้วมือเพื่อให้เลือดไหลออกมาอย่างอิสระ ทิ้ง lancet ลงในภาชนะสาหรับทิ้งของมีคม
2.9.7ใช้สำลีแห้งปราศจากเชื้อ เช็ดเลือดหยดแรกออกก่อนเก็บเลือด (อาจใช้capillary tubeช่วยถ่ายเลือดลงหลอดเลือด) ขณะเก็บเลือดในภาชนะอาจนวดเบาๆ จากโคนนิ้วถึงปลายนิ้วเพื่อเลือดไหลดีขึ้น ไม่ควรบีบเค้น เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
2.9.8 เมื่อเก็บเลือดเสร็จแล้ว ใช้สำลีแห้งปราศจากเชื้อกดปิดปากแผลจนเลือดหยุดไหลและใช้พลาสเตอร์ปิด
2.9.9 นำเลือดคนไข้ส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ต่อไป
2.10 ข้อควรระวัง
2.10.1 ห้ามเจาะเลือดในตำแหน่งที่สัมผัสแล้วรู้สึกถึงการเต้นของชีพจร เนื่องจากเป็นเส้นเลือดแดง
2.10.2 ห้ามเจาะเลือดบริเวณที่สัมผัสแล้วแข็งไม่ยืดหยุ่น เนื่องจากอาจเป็นเส้นเอ็นซึ่งดูคลายเส้นเลือด
2.10.3ไม่ควรแทงเข็มลึกเกินไป เพราะอาจมีโอกาสแทงถูกเส้นประสาท หรือเกิด Hematomaกรณีคนไข้เจ็บมากให้หยุดเจาะบริเวณนั้น แล้วพิจารณาหาตำแหน่งใหม่
2.10.4 ในการเจาะเลือดในแต่ละครั้งต้องใช้เข็มใหม่เสมอ หากเจาะ 2 ครั้งแล้วยังไม่ได้ ควรเปลี่ยนผู้เจาะที่มีความชำนาญสูงกวา
2.10.5 ข้อควรระวังในการเจาะเลือดไม่ให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง (Hemolysis) มีดังนี้
2.10.5.1 ไม่ใช้เข็มขนาดเล็กเกินไป
2.10.5.2 ไม่ควรดัง plunger ของ syringe เร็วเกินไป
2.10.5.3 ไม่ฉีดเลือดสู่หลอดเลือดแรงเกินไป
2.10.5.4 ไม่ควรเจาะเลือดขณะที่บริเวณที่เจาะนั้นยังไม่แห้ง
2.10.5.5 ไม่ควร Mix หลอดเก็บเลือดเร็วๆ แรงๆ
2.10.5.6 ไม่ควรกวนเลือดอย่างรุนแรงก่อนนำไปปั่นเหวี่ยง
ขั้นตอนวิธีการใส่เลือดลงหลอดเก็บตัวอย่างตามลำดับก่อน-หลัง
กรณีที่มีการส่งตรวจหลายรายการทดสอบ และต้องใช้หลอดเลือดหลายหลอด ควรลำดับการใส่เลือดลงหลอด ดังนี้
1. ขวดสำหรับการเพาะเชื้อ Hemo Culture
2. หลอดสำหรับการทดสอบ Coagulation หลอด Sodium Citrate (จุกสีฟ้า)
3. หลอด Clotted blood (จุกสีขาว)
4. หลอด EDTA (จุกสีม่วง)
5. หลอด NaF (จุกสีเทา)
• Random Urine:ให้เก็บปัสสาวะส่วนกลาง (Mid Stream Urine) ตามปริมาตรที่ระบุ ดังนี้
1) ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะขับถ่ายก่อนการเก็บ
2) ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อน แล้วเก็บปัสสาวะช่วงกลางให้ได้ปริมาณไม่น้อยกวา 10 ml.
3) ใส่ในภาชนะสะอาดที่ห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ ซึ้งมีฉลากข้อมูลผู้ป่วย
4) ถ่ายปัสสาวะช่วงท้ายทิ้งไป
5) ปิดฝาภาชนะให้สนิท
•ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24hrs.): เก็บปัสสาวะให้ครบ 24 ชั่วโมง ดังนี้
1. เตรียมภาชนะพร้อมสารรักษาสภาพปัสสาวะ (ขึ้นกับชนิดของการทดสอบที่ระบุ)
2. ก่อนจบเวลาให้ถ่ายปัสสาวะทิ้งไปให้หมด แล้วเริ่มนับเวลา
3. เริ่มจับเวลา ให้ครบ 24 ชั่วโมง เช่น 6.00 น. – 6.00 น. วันรุ่งขึ้น
4. ในช่วงระหว่างที่จับเวลา ให้เก็บปัสสาวะที่ถ่ายทุกครั้ง ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้
5. เมื่อครบ 24 ชั่วโมง ให้ถ่ายปัสสาวะครั้งสุดท้ายเก็บใส่ภาชนะ
6. ต้องเก็บให้ครบตลอด 24 ชั่วโมง เพราะหากมีครั้งใดลืมเก็บใส่ภาชนะ จะทำให้ผลการตรวจไม่ถูกต้อง
7. นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบส่งตรวจ โดยระบุปริมาตรที่เก็บได้ทั้งหมดด้วยทุกครั้ง
• สำหรับการตรวจทดสอบ Protein, Creatinine, Calcium, Phosphate, Uric acid, Glucose, Sodium,Potassium, Chloride ให้เก็บปัสสาวะในอุณหภูมิ4°C
• สำหรับการทดสอบ VMA ใช้6 N.HCL 30 ml. เป็นสารรักษาสภาพ
•เก็บอุจจาระในภาชนะทับ ปิดฝาให้เรียบร้อย หากอุจจาระมีมูกเลือดให้เก็บสวนที่เป็นมูกเลือดด้วย และให้เก็บสูงปริมาณพอสมควร (ประมาณ 5 กรัม) และปิดฉลากระบุชื่อผู้ป่วยบนภาชนะ
•ห้ามสูงเป็นกระดาษป้ายอุจจาระ
• เก็บใสขวดแก้วที่สะอาดปราศจากเชื้อ (ขวด Sterile) ในปริมาณที่พอเพียงต่อการทดสอบ ปิดฉลากระบุชื่อผู้ป่วยบนภาชนะ และทำการจัดสิ่งที่นท
• กรณีส่งตรวจเพาะเชื้อ ห้ามเก็บในตู้เย็น เพราะอาจทำให้เชื้อบางชนิดตายได้ เช่น Neisseria meningitidis
• กรณีที่สูงหลายรายการทดสอบ
- ขวดที่1 สำหรับส่งตรวจทางเคมีและอิมมูโนวิทยา
- ขวดที่2 สาหรบสงตรวจจุลชีววิทยา
- ขวดที่3 สำหรับส่งตรวจนับจำนวนของเซลล์และนับแยกชนิดของเซลล์
• เก็บสิ่งส่งตรวจ ให้ถูกตำแหน่ง ก่อนที่ผู้ป่วยได้รับสารตานจุลชีพ
• เลือกใช่ภาชนะ หรออาหารเลี้ยงเชื้อให้ถูกตองเหมาะสมกับประเภทของตัวอย่าง เช่น
6.1 เลือด
- ขวด Hemoculture ที่เก็บในตู้เย็นต้องนำออกมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง และรอให้ขวดมีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้องก่อนนำไปใช้งาน
- เช็คจุกยางที่ปิดปากขวดด้วย 70% แอลกอฮอล์ (ไม่ควรใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน เพราะจะทำให้จุกยางเสอมสภาพ) รอให้แห้งก่อนใส่เลือด
- ควรเปลี่ยนหัวเข็มใหม่ ก่อนฉีดเลือดลงในขวด Hemoculture
- กรณีที่ไมสามารถส่งขวด Hemoculture มายังห้องปฏิบัติการได้ภายในวันเจาะเลือด ให้นำขวดไปอบที่อุณหภูมิ 35-37°C หรือวางที่อุณหภูมิห้อง ห้ามแชในตู้เย็น
- ห้ามเจาะเลือดเพื่อใช้ในการทดสอบอื่นๆ ในคราวเดียวกัน เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนได้
- กรณีที่ใช้ขวด Hemoculture (Convention) ให้เจาะเลือด 5 ml. สำหรับผู้ใหญ่ และ 2 ml. สำหรับ เด็ก
-กรณีที่ใช้ขวด Hemoculture (Fluorescent) ให้เจาะเลือด 8-10 ml. สำหรับผู้ใหญ่ และ1-3 ml.สำหรับเด็ก
- ควรเจาะขณะไข้เริ่มขึ้น ก่อนให้ยาต้านจุลชีพ หรือก่อนให้ยาต้านจุลชีพครั้งตอไป ควรเจาะอย่างน้อย 2 ตัวอย่างตรวจ และไม่เกิน 3 ตัวอย่างตรวจใน 24 ชม. (เด็กเลิกควรเจาะ 1-2 ตัวอย่างตรวจ) ห่างกันอย่างน้อย 30-60 นาที โดยเจาะคนละตำแหน่ง (แขนขวา – แขนซ้าย)
6.2 นำไขสันหลังและสารคัดหลั่งอื่นๆจากร่างกาย
ควรเจาะให้ได้ปริมาตร 1-2 ml. โดยทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะเช่นเดียวกับการเจาะเลือดโดยใส่น้ำไขสันหลังในภาชนะที่ปราศจากเชื้อ ตัดฉลากข้อมูลผู้ป่วยให้ครบถ้วนตามข้อกำหนด แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที่ ห้ามเก็บน้ำไขสันหลังในตู้เย็นขณะรอส่งเพราะอาจจะทำให้เชื้อบางชนิดตายได้ ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ในเวลาให้เก็บในตู้ 37 °C หรือวางที่อุณหภูมิห้อง
6.3 Transport Medium
ใช้Swab เก็บสิ่งส่งตรวจที่ไม่สามารถเจาะหรือดูดได้ ซึ่งเป็นหลอดพลาสติกที่บรรจุTransport mediumสิ่งส่งตรวจที่เก็บด้วย Swab ได้แก่Throat swab, หนอง เป็นต้น หลังการใช้Swab เก็บสิ่งส่งตรวจแล้วให้ใสSwab ลงในหลอด media เพื่อไม่ให้เชื้อตาย
6.4 Rectal Swab
เป็นการเก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่อหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในลำไส้ โดยใช้Swab ปราศจากเชื้อจุ่มลงในอาหารเลี้ยงเชื้อCary-Blair หลังจากนั้นสอด Swab เข้าไปในทวารหนักของผู้ป่วย ให้ลึกประมาณ 1.0 - 1.5 นิ้ว หมุน Swab ให้ครบรอบ ดึงออกใส่ในหลอดอาหารเลี้ยงเชื้อ Cary - Blair ให้ลึกถึงก้นหลอด นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24ชั่วโมงหากเกิน10 ชั่วโมงให้เก็บที่อุณหภูมิ 2-8°C
6.5 อุจจาระ
เก็บอุจจาระที่ถ่ายใหม่ๆ บริเวณที่มีมูกเลือดหรือมูกหนองประมาณ 1-2 กรัม ใส่ภาชนะปากกว้างมีฝาปิดสนิทนำส่งภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ทันที่ ให้เก็บในตู้เย็นที่ 4 °C ไม่เกิน 24 ชั่วโมง การเพาะเชื้อCampylobacter spp.ให้เก็บส่งเป็นอุจจาระ
6.6 ปัสสาวะ
ถ้าเป็นปัสสาวะที่ไม่ใช่Mid Stream Urine ต้องระบุลงในใบส่งตรวจ เช่น Catheter urine ปัสสาวะที่ส่งเพาะเชื้อต้องระบุเวลาเก็บให้ชัดเจน และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที่ ถ้าไม่สามารถนำส่งทันเวลาให้เก็บปัสสาวะในตู้เย็นห้ามเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง และห้ามเก็บปัสสาวะใส่Transport medium
6.7 เสมหะ
- ลักษณะของสิ่งส่งตรวจควรเป็น มูก หนอง มีเลือดปน
- ช่วงเวลาการเก็บที่เหมาะสม คอ เก็บตอนเช้าโดยทาความสะอาดในช่องปากด้วยวิธีการบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนของน้ำลายและเชื้อในชองปาก ไม่ควรใช้นายาฆ่าเชื้อบ้วนปาก
- ควรให้ผู้ป่วยไอจากลำคอเพื่อให้ได้เสมหะที่แท้จริง
- บ้วนใส่ขวดปากกวาง ที่สะอาดและแห้งมฝาปิดสนิท
- นำส่งภายใน 2 ชั่วโมง ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ให้เก็บในตู้เย็น 4 °C ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
6.8 ชิ้นเนื้อ
- ให้เก็บตรงตำแหน่งขอบ หรือรอยโรคที่คาดว่ามีเชื้อเจริญอยู่ใส่ภาชนะแห้งปราศจากเชื้อ อาจเติมน้ำเกลอปราศจากเชื้อลงไปเล็กน้อยเพื่อกันมิให้ชิ้นเนื้อแห้ง ห้ามแช่ในฟอร์มาลีน
- ควรเก็บใหม่ขนาดปริมาณ 1 ลบ.ซม.
- นำส่งห้องปฏิบัติการทันที่ ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง ห้ามแช่เย็น
6.9 สิ่งส่งตรวจเพาะเชื้อแอนแอโรบส์
ควรเก็บตัวอย่างในบริเวณที่ไม่มีเชื้อประจำถิ่นโดยใส่ใน Thioglycolate tube ซึ่งก่อนนำมาใช้ต้องดูสภาพของน้ำยายังคงใสไม่มีสี ถ้ามีสีชมพูบ่งชี้ว่ามีออกซิเจนอยู่ในขวดจึงไม่ควรใช้ และถ้ายังไม่ได้ใช้ควรเก็บที่อุณหภูมิห้องในที่มืด ห้ามเก็บในตู้เย็น
7.1 Heparinized Peripheral Blood:ใช้Syringe 5 ml. ดูด Lithium Heparin เพื่อเคลือบแล้วฉีดไล่ออกจาก Syringe และเปลี่ยนเข็มใหม่เพื่อเจาะเลือด น้ำส่งทั้งSyringe ขณะรอนำส่งให้เก็บในตู้เย็น (ห้ามแช่Freeze หรือแช่ในน้ำแข็ง)
7.2น้ำคร่ำ(Amniotic Fluid):เก็บโดยวิธีAmniocentesis จำนวน 15-20 ml. บรรจุใน Syringe หรือภาชนะปลอดเชื้อ ขณะรอนำส่งให้ไว้ที่อุณหภูมิห้อง (ห้ามแช่Freeze หรอแช่ในน้ำแข็ง)
7.3 ชิ้นเนื้อ (Tissue): ใส่ชิ้นเนื้อใน 0.85% Sterile NaClในภาชนะปลอดเชื้อ (ห้ามแช่Formalin) เก็บที่อุณหภูมิห้อง
7.4 เลือดจากสายสะดือทารก (Cord blood):เก็บโดยวิธีCordocentesisจานวน 1-2 ml. บรรจุในSyringe หรือภาชนะปราศจากเชื้อที่ผสม Lithium Heparin ปริมาตร 50 ไมโครลิตร ต่อเลือด 2 ml.เพื่อไม่ให้เลือดแข็งตัว
8.1 เจาะเลือด 5 ml. ใส่ในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ส่งตรวจภายใน 6 ชั่วโมง
8.2หากไม่สามารถส่งเลือดภายในเวลาที่กำหนด ควรแยกPlasma ด้วย Aseptic Technique แล้วเก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็ง
8.3 แยก Plasma โดยการปั่นที่800-1,600 รอบ/นาที นาน 20 นาที
9.1 ชิ้นเนื้อแช่ใน 10% Formalin น้ำยาควรมีปริมาณมากกว่าชิ้นเนื้อ 10 เท่า
9.2 Fluid For Cytology เก็บปริมาณ 50-200 ml. ใส่ขวด Sterileโดยไม่ต้องเติมน้ำยา Fixative ใดๆ ทั้งสิน ถ้ายังไม่ได้ส่งทันที่ให้เก็บในตู้เย็นช่องปกติ (4-6 °C) ห้ามแช่ช่องแข็ง
9.3 PAP Smear, FNA หลงป้ายให้แช่ใน 95% alcohol ทันที่โดยไม่ต้องรอให้แห้ง ในกรณีส่งแบบเปียกไม่ควรติดคลิป ถ้าส่งแบบแห้งให้แช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที แล้วนำมาผึ่งให้แห้งที่อุณหภูมิห้องห่อด้วยกระดาษแล้วนำส่ง (ไม่ควรเก็บสไลด์ที่ผึ่งแห้งแล้วไว้เกิน 1 สัปดาห์)
9.4 การเก็บสิ่งส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก วิธีLiquid based cytology
9.4.1 การเตรียมตัวก่อนเขารับการตรวจคัดกรอง
9.4.1.1 ต้องไม่มีการตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชั่วโมง
9.4.1.2 ไม่มีการเหน็บยาในช่องคลอดมาก่อนตรวจ 48 ชั่วโมง
9.4.1.3 ห้ามล้างหรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดก่อนมาตรวจ 48 ชั่วโมง
9.4.1.4 งดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนมารับการตรวจ 48 ชั่วโมง
9.4.2 วิธีการเก็บ
9.4.2.1 ใช้แปรงเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูก (เก็บโดยแพทย์)
9.4.2.2 นำเซลล์ที่เก็บได้ทั้งหมดจุ่มลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์วิธีการแบบ Liquid based
9.4.2.3 นำกระป๋องน้ำยาที่มีเซลล์เข้าเครื่องเตรียมสไลด์อัตโนมัติ หรือ Manual
9.4.2.4 เซลล์ที่ปรากฏบนสไลด์จะเรียงเป็นแผ่นบาง
9.4.2.5 คนหาเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีเม็ดเลือดแดงและมูกเลือด มาบดบังเซลล์ที่ผิดปกติ
หมายเหตุ: ขอแนะนาเพื่อเพิ่มความไวในการตรวจ
- วิธีLiquid based สำหรับผู้หญิงทุกวัย
- Liquid based พลัสเอชพีวี (Liquid based Plus HPV) สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ30 ปี ขึ้นไป
(โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในหน้า 81)
9.5 การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกโดยชุดตรวจ I Check test รายละเอียดตามหนา 80
10.1 ควรเก็บน้ำอสุจิให้หมดทุกครั้งในภาชนะปากกวาง สะอาดและแห้ง
10.2 เก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีMasterbationห้ามใช้ถุงยางอนามัย เพราะจะทำให้อสุจิเคลื่อนไหวช้าหรือตาย
10.3 นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 1-2 ชั่วโมง ห้ามแช่เย็น หรือ ถูกความร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 20 – 40 °C
10.4 งดการมีเพศสัมพันธุ์อย่างน้อย 3 วัน ก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ
11.1 ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด
• การเจาะเลือด ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออื่นที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ เช่น ใช้เบตาดีนเช็ดบริเวณที่จะเจาะเลือด
• เจาะเลือด 3 ml. ใส่ในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด NaF Blood ปิดจุกให้แน่นและพันด้วยParafilmเพื่อป้องกันการระเหยของแอลกอฮอล์
11.2 ตรวจวัดระดับยา เจาะเลือด 5 ml. ใส่ในหลอดเลือดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็งตัว (Clotted Blood)และนำส่งเป็น Clotted Blood หรอ ซีรั่ม 2-3 ml
11.3 ในกรณีส่งตรวจ Common Drug Screening ให้ส่งตรวจทั้ง Clotted Blood
ห้องปฏิบัติการอาจทำการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ กรณีที่เห็นว่าการตรวจสิ่งส่งตรวจดังกล่าวอาจให้ค่าที่ไม่น่าเชื่อถือหรือเกิดผลเสียต่อการแปลผลโดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจรับสิ่งส่งตรวจจะแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ที่สูงสิ่งส่งตรวจนั้นมาพร้อมทั้งบันทึกไว้เป็นหลักฐานแต่หากมีการยืนยันให้ตรวจวิเคราะห์จะรายงานถึงสภาพที่ไม่เหมาะสมของสิ่งส่งตรวจนั้นลงในใบรายงานผลการตรวจด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อให้ผลการตรวจวิเคราะห์ถูกต้องแม่นยาบริษัทจงกำหนดเกณฑ์ในการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจดังนี้
1. การติดป้ายสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
• ชื่อ-สกุลในใบส่งตรวจไม่ตรงกับชื่อ-สกุลที่ติดบนภาชนะสิ่งส่งตรวจ
• ไม่ติดป้ายชื่อ-สกุลบนภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจ
2. การส่งสิ่งส่งตรวจโดยไม่มีใบส่งตรวจ
3. สิ่งส่งตรวจที่เก็บในภาชนะหรือสารกันเลือดแข็งไม่ถูกต้องไม่สามารถนำมาตรวจวิเคราะห์ได้
4. สิ่งส่งตรวจหกเลอะเทอะภาชนะที่เก็บสิ่งส่งตรวจหรือใบสั่งตรวจ
5. ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด/ไม่ได้สัดส่วนกับสารกันเลือดแข็ง
6. สิ่งส่งตรวจที่นำส่งโดยไม่มีการรักษาสภาพเช่นการรักษาอุณหภูมิ2-8°Cในบางรายการตรวจ
7. ระยะเวลาการนำส่งสิ่งส่งตรวจเกินกำหนดเช่นการนำสิ่งส่งตรวจสำหรับการตรวจไทรอยด์ฮอร์โมนต้องเก็บserum/plasma7วันที่2-8°Cหรือ1เดือนเก็บที่อุณหภูมิ-20°C
8. คุณภาพของสิ่งส่งตรวจไม่ได้มาตรฐาน
•อัตราส่วนของเลือดต่อสารกันเลือดแข็งไม่ถูกต้องเช่นEDTAbloodมีส่วนของเลือดมากเกินไปหรือ การผสมเลือดไม่ดีพออาจทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดบางส่วน(partialclotted)การมีส่วนของสาร กันเลือดแข็งมากเกินไปอาจทำให้รูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดผิดปกติไม่เหมาะสมต่อการตรวจวิเคราะห์ ได้แก่CBC,ESR,HbA1CและMalaria
•สิ่งส่งตรวจที่มีสภาพHemolysisมีผลต่อการตรวจวิเคราะห์ในบางรายการตรวจได้แก่AST,ALT, CK-MB,Potassium,Calcium,Phosphorus,Magnesium,LDH,NSE,CPK,ANA,Anti-dsDNAและ Anti-Centromere
•สิ่งส่งตรวจที่มีสภาพLipemicมีผลต่อการตรวจวิเคราะห์ในบางรายการตรวจได้แก่Triglyceride, Lipase,AST,ALT,ANA,Anti-dsDNAและAnti-Centromere
•สิ่งสงตรวจที่มีสภาพเลือดเก่า/สีดำคล้ำ ที่เก็บทิ้งไว้นานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่นำส่งห้องปฏิบัติการ
1. สิ่งส่งตรวจหกเลอะเทอะมีรอยแตกร้าวรั่วปิดฝาภาชนะไม่สนิทไม่มีจุก/ฝาปิดหรือมีแต่หลุดปิดไม่อยู่
2. มีสิ่งส่งตรวจเปื้อนออกมาภายนอก
3. สิ่งส่งตรวจเก็บในภาชนะที่ไม่ถูกต้อง
4. ภาชนะที่ใส่สิ่งส่งตรวจไม่ใช่ภาชนะปราศจากเชื้อ(ไม่ได้Sterile)หรือภาชนะที่ไม่เหมาะสมต้องเป็นภาชนะปลอดเชื้อหรือขวดSterile
5. ใช้Transportmediumไม่ถูกต้องกับชนิดของการทดสอบหรือการนำส่งในอาหารเลี้ยงเชื้อผิดประเภทตัวอย่างเช่นหนองปัสสาวะฯลฯใสในขวดHemocuture
6. สิ่งส่งตรวจที่เก็บรักษาในFormalin
7. ชนิดสิ่งส่งตรวจไม่ตรงกับชนิดของการทดสอบเช่นหาปริมาณเชื้อในเลือดโดยใช้สิ่งส่งตรวจประเภทclottedblood
8. ไม่ระบุชนิดสิ่งส่งตรวจว่าเก็บมาจากส่วนใดบนใบสงตรวจและภาชนะที่ใส่สิ่งส่งตรวจหรือระบุไม่ชัดเจน
9. การส่งตรวจเพื่อทำการย้อมสีแกรมย้อมสีทนกรดแต่นำสงโดยใส่Transportmediumหรือไม้พันสาลีป้ายสิ่งส่งตรวจนำส่ง
1. Rectalswabไม่จุ่มอยู่ในTransportmedia
2. ปลายRectalswabควรจุ่มมิดในTransportmediaเพื่อเป็นการรักษาสภาพเชื้อ
3. ควรระบุวันที่ที่ทำการเก็บสิ่งส่งตรวจ
4. นำส่งภายใน1ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้องหากเกิน1ชั่วโมงให้เก็บไว้ที่อุณหภูมิ2-8ºCและนำส่งภายใน48ชั่วโมง